ดอกขจรปลอดสารพิษ เก็บจากต้น สดใหม่แน่นอน พร้อมส่งถึงมือคุณทุกวัน
สรรพคุณของดอกขจร
- ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- ช่วยรักษาโลหิตเป็นพิษ (ราก)
- ช่วยบำรุงหัวใจ (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- แก่นและเปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น, เปลือก)
- ดอกและยอดใบอ่อนมีวิตามินสูง การรับประทานเป็นประจำจะช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- ช่วยรักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรือตากอากาศเย็น (ดอก)
- ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน (ดอก)
- รากมีรสเบื่อเย็น ใช้รับประทานเพื่อให้เกิดอาการอาเจียน ช่วยถอนพิษยาเยื่อเบา (ราก)
- รากนำมาฝนหยอดตาแก้ตาอักเสบ ตาแดง ตาแฉะ ตามัว (ราก)[1] บ้างว่านำมาใช้ผสมกับยาหยอดตาแล้วใช้หยอดตา (ราก)
- ช่วยขับเสมหะ แก้เสมหะและโลหิต (ดอก)
- ดอกมีรสเย็นขมและหอม ช่วยบำรุงปอด (ดอก)
- ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ดอก)
- ช่วยในการขับถ่าย (ดอก)
- ช่วยบำรุงฮอร์โมนของสตรี (ดอก)
- ช่วยบำรุงตับและไต (ดอก, ยอดใบอ่อน)
- รากใช้เป็นยาดับพิษทั้งปวง (ราก)
- ช่วยทำให้รู้รสชาติของอาหารและช่วยดับพิษยา (ราก)
- ดอกใช้เข้าเครื่องยาหอม
ประโยชน์ของดอกขจร
- ยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกให้สุกใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส่วนดอกยังสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงส้มดอกขจร แกงจืดดอกขจร แกงเลียง ขจรผัดไข่ ขจรชุบแป้งทอด ยำดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร ผัดน้ำมันหอย ผัดกับปลาหมึก เป็นต้น (ยอดอ่อนคือส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุด)
- ในสมัยก่อนจะนำดอกขจรมานึ่งให้สุก ผสมกับมะพร้าวอ่อนหรือมะพร้าวแก่ขูดฝอย นำมาปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย งา และเกลือเล็กน้อย ใช้ทำเป็นขนมที่เรียกว่า “ขนมดอกขจร” แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบว่ามีขายแล้ว
- ดอกสวยของขจร นอกจากจะรับประทานเป็นผักได้แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในงานดอกไม้สด ด้วยการนำไปร้อยอุบะติดชายมาลัยหรือเครื่องแขวนต่าง ๆ ได้อีกด้วย
- เถาของต้นขจรมีความเหนียวมาก สามารถนำมาใช้แทนเชือกได้
- นอกจากจะปลูกเพื่อนำดอกมารับประทานแล้ว ก็ยังสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้อีกด้วย
- บ้างระบุว่าเนื้อไม้สามารถนำมาใช้ในการก่อสร้างได้
คุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
ดอกขจร
฿20.00 ราคาปกติ
฿10.00ราคาขายลด